ทำไมลูกกอล์ฟต้องขรุขระ

วันจันทร์, มกราคม 18, 2553 / เขียนโดย เพ็ญพรรณ มาเนตร /

ตามประวัติแล้วลูกกอล์ฟ ตอนที่เริ่มเล่นใหม่ๆ นั้นเป็นลูกหนังยัดไส้ขนนก แต่พอมาถึงศตวรรษที่ 19 ผู้ผลิตลูกกอล์ฟ พบยางที่เรียกว่า กัตตา-เปอร์ชา เป็นวัสดุที่จะช่วยทำให้ลูกกอล์ฟตีไปได้ไกลมากขึ้น ขณะที่นักประดิษฐ์พบว่า ลูกกอล์ฟที่มีรอยบุบนั้น ตีไปได้ไกลกว่าลูกผิวเรียบ จึงพยายามลดแรงเสียดทานพื้นผิวลูกกอล์ฟระหว่างที่พุ่งผ่านอากาศและช่วยพยุงให้ลูกลอยอยู่ในอากาศได้นานขึ้น ว่าแล้วจึงทำรอยบุ๋มซะทั่วลูก มีขนาดลึกประมาณ 0.01-0.25 มิลลิเมตร แต่ละลูกมีรอยบุ๋มประมาณ 300-500 รอย ปัจจุบันนี้ลูกกอล์ฟทำด้วยยางที่แข็งนอกอ่อนใน และถ้าไม่บุ๋ม ไม่ใช่ลูกกอล์ฟ เหตุผลอธิบายเรื่องนี้มีว่า ลักยิ้มหรือรอยบุ๋มบนลูกกอร์ฟจะกันกระแสลมไม่ให้ก่อตัวขึ้นข้างหลัง ลมก็จะผ่านลูกกอล์ฟไปอย่างราบรื่น ถ้าไม่มีรอบบุ๋ม กระแสลมก็จะก่อตัวขึ้นข้างหลังลูกกอล์ฟ และรบกวนการเดินทางของมัน พูดง่าย ๆ คือ หลุมบนผิวสร้างชั้นอากาศขึ้นมาซึ่งเป็นผลให้1. แรงเสียดทานที่ผิวลดลง ลูกกอล์ฟหมุนได้นานและเร็วกว่าจึงรักษาทิศทางได้ดีกว่า2. Flow Separation เกิดช้าลง ความแตกต่างของความดันด้านหน้าและด้านหลังลูกกอล์ฟมีน้อยกว่า แรงฉุดลดลง ลูกกอล์ฟจึงไปได้ไกลขึ้น