ทำไมเราจึงเห็นน้ำทะเลเป็นสีฟ้า

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 03, 2553 / เขียนโดย เพ็ญพรรณ มาเนตร /


วัตถุแต่ละชนิดมีการสะท้อนและดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงคลื่นแตก ต่างกัน ค่าการสะท้อนเชิงคลื่นของแต่ละวัตถุนี้เรียกว่า "ลายเซ็นการสะท้อนเชิงคลื่น (spectral reflectance signature)" ซึ่งเป็นลักษณะที่ใช้แยกความแตกต่างของวัตถุแต่ละชนิด เช่น ค่าการสะท้อนแสงของน้ำโดยทั่วไปจะต่ำ แต่จะมีการสะท้อนสูงที่ปลายคลื่นน้ำเงิน ซึ่งทำให้น้ำใสจะปรากฏเป็นสีน้ำเงินเข้ม ดินจะมีค่าการสะท้อนสูงกว่าพืชไปจนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรด ค่าการสะท้อนของดินขึ้นอยู่กับส่วนผสมของดิน ตัวอย่างดินที่แสดงในภาพจะปรากฏเป็นสีน้ำตาล ส่วนพืชจะมีค่าการสะท้อนแสงที่แตกต่างดินและน้ำ คือ ค่าการสะท้อนจะต่ำในช่วงคลื่นน้ำเงินและแดง ในขณะที่จะมีค่าการสะท้อนสูงที่ช่วงคลื่นเขียวและช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรด หรือ

1. น้ำทะเลสะท้อนแสงจากท้องฟ้า ซึ่งมีสีฟ้า และจะเห็นว่า ถ้าวันไหนเมฆเยอะ ทะเลจะสีไม่ฟ้ามากนัก

2. น้ำทะเลเองก็กระเจิงแสงในทำนองเดียวกับท้องฟ้า ซึ่งเมื่อแสงกระเจิงจากอนุภาคที่ขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่น แสงสีน้ำเงินซึ่งความยาวคลื่นต่ำจะกระเจิงได้ดีที่สุด ในขณะที่แสงสีแดงซึ่งความยาวคลื่นมากจะกระเจิงได้น้อย ทำให้เมื่อลงไปอยู่ในน้ำทะเล ก็ยังคงเห็นน้ำเป็นสีฟ้า เพราะแสงสีน้ำเงินกระเจิงเข้าตามากที่สุดนั่นเอง

ดร.ไซมอน บ็อกซอลล์ แห่งสถาบัน National Oceanography Centre ในเซาธ์แฮมตัน อธิบายว่า คลอโรฟิลล์จะดูดซับสีน้ำเงินและสีแดงจากคลื่นแสง และสะท้อนสีเขียวออกมาซึ่งก็คือสิ่งที่เราเห็นนั่นเอง

ฉะนั้น ในที่ซึ่งน้ำทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยไฟโตแพลงก์ตอน และแสงสีน้ำเงินถูกดูดซึมไปเป็นส่วนใหญ่ เราจึงจะเห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียว แต่ในที่ซึ่งมีไฟโตแพลงก์ตอนน้อยกว่า และแสงสีน้ำเงินไม่ได้ถูกดูดซับไปจนหมด ทะเลจึงดูเป็นสีน้ำเงินอย่างที่เราเห็น