สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เผยผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์เดือนพ.ย.52 พบปัญหาสายตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แขน ข้อมือ แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด... คนทำงานรุ่นใหม่มักเจอปัญหาสุขภาพจากการใช้คอมพิวเตอร์ถาโถมเข้าใส่ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัว ปวดตา ปวดเมื่อยเนื้อตัวทราบหรือไม่ว่าผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำงาน เล่นเกม หรืออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถจัดกลุ่มเรียกว่าเป็น "โรคฮิตจากคอมพิวเตอร์" ได้ โดยจดหมายข่าวรายเดือนของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เดือนพฤศจิกายน รวบรวมไว้ดังต่อไปนี้
-ปัญหาเกี่ยวกับสายตา การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันจะทำให้ตาขาดน้ำหล่อเลี้ยงเกิดอาการระคายเคือง และอาการที่ตามมาคือ ตาพร่ามองไม่เห็นชั่วคราว รวมทั้งสายตาสั้น นอกจากนี้ ยังมีอาการไมเกรนตามมา เพราะกล้ามเนื้อตาจะบีบรัดเลนส์ตาจนล้า-"คอมพิวเตอร์ วิชั่น ซินโดรม" หรือซีวีเอส จะมีอาการเมื่อยล้าตา ปวดตา เคืองตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ตามัว เห็นภาพซ้อน ปวดคอ หลัง และไหล่-"รีพิททีทีฟ สเตรน อินเจอรี" หรืออาร์เอสไอ เกิดจากการที่เรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไม่ถูกสุขลักษณะ สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่ และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็นก็มี-อาการท้องร่วงเพราะคีย์บอร์ด (QWERTY Tummy) ชื่ออาการนี้มาจากกลุ่มตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด สาเหตุที่ทำให้ท้องร่วง เพราะคีย์บอร์ดมีแบคทีเรียสะสมอยู่ บางคนมักรับประทานอาหารหน้าจอคอมฯที่มีคีย์บอร์ด มือที่สัมผัสคีย์บอร์ดติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อหยิบอาหารอาจทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นปะปนในอาหารได้-"คาร์ปาล ทุนเนล ซินโดรม" เกิดจากการใช้ งานซ้ำๆที่บริเวณข้อมือ ทำให้เอ็นรอบบริเวณข้อมือหนาตัวขึ้น แล้วไปกดเส้นประสาทที่วิ่งผ่าน ทำให้เกิดอาการชาและเจ็บได้ในเมื่อการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ยังต้องดำเนินต่อไป ก็ต้องคอยเตือนตัวเองให้ปรับสภาพการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ ลุกจากที่นั่งขึ้นมายืดเส้นยืดสายเป็นระยะเสียบ้าง เพื่อจะได้ให้บรรเทาเบาบางจากโรคฮิตเหล่านี้.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
? ? ? ทำไม ตัวอักษรในแป้นพิมพ์ทั้งของเครื่องพิมพ์ดีดและคอมพิวเตอร์ ถึงไม่เรียงกันตามลำดับอักษรเช่น A B C สำหรับการเรียงอักษรบนแป้นพิมพ์ในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการเรียง ที่เรียกว่า QWERTY (คิวเวอร์ตี้) ที่เรียกกันอย่างนี้เพราะเป็นการนำอักษร 6 ตัวแรก(เมื่อนับจากซ้ายมาขวา) ของแป้นพิมพ์ที่เป็นตัวอักษรแถวบนมาต่อกัน และถ้าหากจะถามว่าทำไมถึงต้องเรียงแบบนี้ เราคงต้องย้อนกลับไปในอดีตกันซะหน่อยการเรียงลำดับ อักษรของแป้นพิมพ์ในปัจจุบันนั้น มีที่มาจากข้อจำกัดที่เกิดกับเครื่องพิมพ์ดีดในยุคแรกๆ ที่ยังจัดแป้นพิมพ์แบบเรียงตามลำดับตัวอักษรคือ เมื่อคนที่พิมพ์ดีดได้คล่องและเร็วมาพิมพ์จะทำให้ก้านพิมพ์ดีดขัดกันอยู่ เสมอ ต่อมา คริสโตเฟอร์ ลาแธม โชลส์ วิศวกรเครื่องกลชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ดีดสมัยใหม่รายแรกและได้รับสิทธิบัตรในปี 1868 จึงทำการเรียงลำดับตัวอักษรเสียใหม่ด้วยการแยกตัวอักษรที่มักใช้มาผสมเป็นคำ ร่วมกันบ่อยๆ ออกไปอยู่กันคนละฝั่งของแป้นพิมพ์ เพื่อทำให้นักพิมพ์ดีดพิมพ์ได้ช้าลงกว่าเดิม จะได้ไม่เกิดปัญหาก้านพิมพ์ขัดกันอีกอย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกผู้คนยังคงไม่นิยมเครื่องพิมพ์ดีดของเขามากนัก ทำให้โชลส์ตัดสินใจขายสิทธิบัตรดังกล่าวให้กับทางบริษัท เรมิงตันอาร์มคอมพานี ในปี 1973 ซึ่งปรากฏว่าหลังจากที่ทางเรมิงตันผลิตเครื่องพิมพ์ดีดออกมาจำหน่าย ความนิยมในตัวเครื่องพิมพ์ดีดกลับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากใน เวลาต่อมา ปรากฏว่ามีผู้พยายามจัดเรียงตัวอักษรบนแป้นพิมพ์เป็นแบบต่างๆ ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมมากหน่อยก็อย่างเช่น แบบ DVORAK ซึ่งเคยมีการบอกกล่าวกันว่าการเรียงในรูปแบบนี้จะทำให้พิมพ์เร็วขึ้น จนทางห้างร้านบริษัทหลายแห่งเริ่มนิยมกันอยู่พักหนึ่ง แต่ว่าในปี 1956 ทาง General Services Administration ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่หน่วยงานอื่นๆของรัฐ ได้ทำการศึกษาการจัดแป้นพิมพ์ทั้ง 2 แบบ และก็พบว่า การจัดแบบ QWERTY นั้น ทำให้พิมพ์ได้เร็วเท่ากับหรือมากกว่าแบบ DVORAK ทำให้ความนิยมของการจัดแป้นพิมพ์แบบ DVORAK ลดลงไปทั้ง นี้ หลายคนอาจจะคิดว่า ปัจจุบันเราก็ไม่ได้นิยมใช้พิมพ์ดีดแบบเมื่อก่อนแล้ว ดังนั้นปัญหาเรื่องก้านพิมพ์ขัดกันก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อไป แล้วทำไมเราจึงไม่เปลี่ยนกลับไปใช้แป้นพิมพ์แบบเรียงตามตัวอักษรเหมือนก่อน ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามนี้หลายคนคงพอเดากันได้ว่าเป็นเพราะ เราคุ้นเคยและเคยชินกับแบบ QWERTY จนไม่อยากจะกลับไปเสียเวลาเริ่มนับหนึ่งกับแบบเดิมเสียแล้วปล. แป้นพิมพ์ภาษาไทย ก็ให้เหตุผลเดียวกันที่มา 108ซองคำถาม
ปกติเชื่อมต่อแบบ USB อยู่แล้วลองมองรอบๆโน้ตบุ๊คว่ามีพอร์ต USB กี่ช่องหรือจะใช้แบบ ExpressCard / PCMCIA แทนดี อย่าลืมว่าเม้าส์ก็กินพอร์ต USBไปร่วมช่องนึงแล้ว ปกติจะรองรับเครือข่าย900MHz / 1800MHz ก็คือ AIS, Dtac, Truemoveส่วน Hutch จะต้องใช้แบบที่รอรับ CDMA ด้วย ติดต่อผู้ให้บริการเพื่อสมัครแพ็คเก็จก่อนช่วงแรกๆอาจจะมีโปรโมชั่นแถม เช่น 20 ชั่วโมง ฟรี 20 ชั่วโมงรวมเป็น 40 ชั่วโมงใน 3 เดือนแรก เป็นต้น อย่างในภาพยิ่งดีใหญ่อินเตอร์เน็ต 500 ชั่วโมงแค่นี้ก็คุ้มแล้ว อย่างน้อยๆเราใช้ปกติเดือนนึงๆถ้าใช้ไม่มากก็20 - 40 ชั่วโมงสำหรับบางรุ่นที่บอกว่ารองรับ3G / 3.5G นั้นจะต้องพิจารณาเรื่องของพื้นที่ให้บริการในการใช้งานด้วยเพราะตอนนี้ 3GSM ใช้งานได้ที่เชียงใหม่และ CentralWorldสิ่งสุดท้ายก็คือเรื่องของการติดตั้งไดร์เวอร์เท่าที่ลองๆดู บางรุ่นจะมี Mini CD แถมมาให้ด้วย แต่ปัญหาคือ หากเป็น Netbook ล่ะทำยังไง เพราะว่าไม่มี DVD Drive มาให้ด้วยจะมีบางรุ่นที่ Built-in driver มาในตัวเลยเพราะยังไงมันก็เป็น USB FlashDrive ด้วยในตัวได้อยู่แล้วก็เลยฝังไดร์เวอร์มา แค่เสียบกับเครื่อง ก็ติดตั้งให้อัตโนมัติเลยแค่นี้ก็หมดห่วงแล้วเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย- เราใช้ Vista, XP หรือ linux สอบถามคนขายให้ดี - บางรุ่นรองรับ Mac ด้วย - การรับประกัน - ปรึกษาผู้ให้บริการ - USB Air Card ก็โทรออกได้ โดยจะมี Small Talk ให้ด้วย- โทรออก รับสายก็ใช้โปรแกรมที่มาในแผ่นซีดีหรือบิวท์อินมา- รู้เรื่องการ Test Speed ไว้สักนิดก็ดี - เวลาเกิดปัญหา ต่อเน็ตไม่ได้ ก็ลองเอาซิมใส่มือถือ ถ้าเข้า WAP ได้ก็โอเค แต่ถ้าจะแจ้งปัญหาการใช้งานก็ต้องแจ้งสถานที่ที่ใช้งาน ชื่อถนน ตรอก ซอย เพื่อให้ผู้ให้บริการตรวจสอบและแก้ปัญหาให้ แค่นี้คุณก็จะได้ Air Card คู่ใจไปให้งานได้ทุกที่ (ที่มีสัญญาณ EDGE/GPRS) ส่วนการใช้งานในต่างประเทศก็ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการดูนะข้อดีของการใช้งานAir Cardก็คือเรื่องของความสะดวกในการเชื่อมต่อเพราะมีขนาดพอๆกับUSB Flash Drive ปกติมีช่องใส่ซิมการ์ดเหตุผลที่ต้องใช้การเชื่อมต่อผ่าน Air Card แบบ USBก็คือ การใช้มือถือต่อนั้นหากเวลาเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่แล้วมีคนโทรเข้ามาในกรณีที่เราใช้เบอร์หลักต่ออินเตอร์เน็ตร่วม4 - 5 ชั่วโมงคนที่ติดต่อมาก็ไม่ได้หลายคนก็เลยเริ่มๆจะมองหา Net SIM มาใช้ที่นี้ USB Air Card หลายๆเจ้าก็จับมือกับผู้ให้บริการมือถือแถมNet SIM และชั่วโมงการใช้งานไปพร้อมๆกับ USBAirCard เรียกว่าใช้อินเตอร์เน็ตได้ทันที
ขอบคุณเนื้อหาจาก oho idea